ประวัติศาสตร์ และ องค์ประกอบ ของ อาสนวิหาร

กฎหมาย

ตามกฎหมายศาสนจักรของนิกายโรมันคาทอลิก ความสัมพันธ์ระหว่างบิชอปกับอาสนวิหารเปรียบได้กับความสัมพันธ์ระหว่างศิษยาภิบาลกับโบสถ์ประจำเขตแพริช ทั้งสองต่างก็มีอำนาจเหนือเขตที่กำหนดไว้ บิชอปมีอำนาจควบคุมมุขมณฑล ศิษยาภิบาลมีหน้าที่ควบคุมเขตแพริช ทั้งสองต่างก็มีความรับผิดชอบต่อสิ่งก่อสร้าง บิชอปมีความรับผิดชอบต่ออาสนวิหาร ศิษยาภิบาลมีความรับผิดชอบต่อโบสถ์ เมื่อใช้กฎการเปรียบเทียบที่ว่านี้เพื่อจะเปรียบเทียบว่าอาสนวิหารก็คือโบสถ์หนึ่งในเขตการปกครองหนึ่งซึ่งโบสถ์อื่น ๆ ในเขตนั้นก็จะมามีส่วนเกี่ยวข้องกันด้วย

อัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน กรุงโรม ประเทศอิตาลีการทำพิธีหน้าโบสถ์โดยพระคาร์ดินัลที่เวนิส

ฐานะของอาสนวิหาร

ตามกฎหมายศาสนจักรคาทอลิก อาสนวิหารแบ่งเป็น

  • โบสถ์ประจำเขตแพริชที่เคยเป็นอาสนวิหารเรียกว่า Proto-cathedral (อดีตอาสนวิหาร)
  • โบสถ์ประจำเขตแพริชที่เคยเป็นอาสนวิหารชั่วคราวเรียกว่า Pro-cathedral
  • โบสถ์ที่เป็นอาสนวิหารร่วมกับอีกอาสนวิหารหนึ่งเรียกว่า Co-cathedral (อาสนวิหารร่วม)
  • โบสถ์ของมุขนายกประจำมุขมณฑลในปัจจุบันเรียกว่า Cathedral - อาสนวิหาร
  • โบสถ์ที่มีอาสนวิหารอื่นมาเป็นปริมุขมณฑลเรียกว่า Metropolitical cathedral (อาสนวิหารมหานคร)
  • โบสถ์ที่อยู่ภายใต้ Metropolitical cathedral และอาสนวิหารอื่นมาขึ้นด้วยเรียกว่า Primatial Cathedral
  • โบสถ์ประจำเขตแพริชที่มีอาสนวิหาร Metropolitical cathedral และ Primatial Cathedral อื่นมาขึ้นด้วยเรียกว่า Patriarchal cathedral

บางครั้งตำแหน่งของมุขนายกมหานครที่มีความสำคัญและความรับผิดชอบสูงและปริมุขนายกอื่นอยู่ในความรับผิดชอบก็จะเรียกว่า "Primate" เช่น บิชอปของอาสนวิหารแคนเทอร์เบอรีและอาสนวิหารยอร์กที่ประเทศอังกฤษ และอาสนวิหารรูอ็องที่ประเทศฝรั่งเศส แต่อาสนวิหารของ "Primate" ก็ยังคงเป็นอาสนวิหาร "Metropolitical Cathedral" มิได้เป็น "Primatial Cathedral" อย่างที่ตำแหน่งระบุไว้

อาสนวิหารที่อยู่ในระดับ Primatial Cathedral จริง ๆ ก็ได้แก่ อาสนวิหารลียง ที่ประเทศฝรั่งเศส ที่รู้จักกันในนามของ "La Primatiale" และ อาสนวิหารลุนด์ (Lund) ที่ ประเทศสวีเดน อาสนวิหารลิอองนอกจากจะปกครองมุขมณฑลของตนเองแล้วก็ยังมีความรับผิดชอบต่อบิชอปประจำมุขมณฑลเซ็นส์ (Sens) และอัครมุขมณฑลปารีสด้วย มาจนถึงการปฏิวัติฝรั่งเศส ขณะที่อาสนวิหารลุนด์มี อาสนวิหารอุปป์ซาลา (Uppsala Cathedral) อยู่ในความรับผิดชอบนอกจากมุขมณฑลของตนเอง

นอกจากตำแหน่ง "Primate" แล้ว ก็ยังมีตำแหน่งอัครบิดร ซึ่งเป็นตำแหน่งของบิชอปประจำเขตอัครบิดรเวนิส ประเทศอิตาลี และเขตอัครบิดรลิสบอน ประเทศโปรตุเกส อาสนวิหารที่เป็นแต่อัครบิดรแต่ชื่อโดยไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งอัครบิดรก็มี อัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน ที่กรุงโรม เพราะที่นั่นถือว่าที่กรุงโรมมีพระสันตะปาปาเป็นอัครบิดรอยู่แล้ว แต่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006 สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงยกเลิกตำแหน่ง "อัครบิดรตะวันตก" ของท่านเอง

บางโบสถ์ที่ถูกยกเลิกการเป็นอาสนวิหารแล้วควรจะเรียกว่า "โปรโตคาธีดราล" แต่ก็ยังเรียกกันอยู่ว่า "อาสนวิหาร" ก็มี เพราะเรียกกันมาจนติด เช่นอาสนวิหารอันท์เวิร์พ(Antwerp) ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ที่ตำแหน่งบิชอปถูกยกเลิกไปตั้งแต่การปฏิวัติฝรั่งเศส

วินัยของเคลอจี

อาสนวิหารอาเคิน ประเทศเยอรมนี สร้างโดยพระเจ้าชาร์เลอมาญ เมื่อค.ศ. 800 อาสนวิหารปาร์มา ประเทศอิตาลีที่ Baptisty เป็นสิ่งก่อสร้างที่แยกจากตัวโบสถ์ ระเบียงฉันนบถของอาสนวิหารลิพารี ที่ (Lipari) เกาะซิซิลี

ต้นสมัยกลาง: คณะนักบวช

ในสมัยกลางบิชอปและเคลอจีผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับอาสนวิหาร จะอยู่ด้วยกันกันอย่างชุมชนซึ่งไม่เชิงเป็นอารามตามความหมายดั้งเดิมของคำนี้ แต่กระนั้นก็ยังเรียกตัวเองว่า “monasterium” การใช้คำนี้บางครั้งทำให้เกิดความสับสน อย่างเช่น อาสนวิหารยอร์กในประเทศอังกฤษที่ไม่มีบาทหลวงและเคลอจีประจำอยู่ แต่เรียกตัวเองว่า “โบสถ์ประจำเมือง” หรืออาราม ในสมัยนั้นเคลอจีมักจะมีที่อยู่เป็นของตนเองนอกบริเวณโบสถ์และบางครั้งอาจจะมีภรรยาด้วย

เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 8 Chrodegang (ค.ศ. 743 - ค.ศ. 766) บิชอปแห่งเมืองเม็ทซ (Metz) ประเทศฝรั่งเศส รวบรวมวินัยของเคลอจีของอาสนวิหาร ซึ่งเป็นที่เป็นที่ยอมรับเป็นข้อปฏิบัติกันทั่วไปที่ประเทศเยอรมนีและบริเวณอื่นของทวีปยุโรป แต่กฎนี้ไม่เป็นที่นิยมใช้กันในประเทศอังกฤษ ตามกฎของ Chrodegang เคลอจีของอาสนวิหารควรจะอยู่ภายใต้หลังคาเดียวกันและต้องอยู่ภายใต้การปกครองของเจ้าหน้าที่พิเศษที่แต่งตั้งขึ้น กฎของ Chrodegang ปรับปรุงมาจาก “วินัยของนักบุญเบเนดิกต์” (Rule of St Benedict) เมื่อ จีซา (Gisa) ชาวลอแรน (แขวงหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส) มาดำรงตำแหน่งบิชอปแห่งเว็ลส์ (Wells) ในประเทศอังกฤษ ระหว่างปีค.ศ. 1061 - ค.ศ. 1088 ท่านก็พยายามเอากฎ Chrodegang เข้ามาใช้ปฏิบัติที่อาสนวิหารเว็ลส์ประเทศอังกฤษแต่ก็ไม่สำเร็จ

ปลายสมัยกลาง: อาสนวิหารแบบอารามและแบบเซคิวลาร์

ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถึง 11 เคลอจีประจำอาสนวิหารแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกใช้ชีวิตอยู่กันในอารามเป็นคณะนักพรต เช่น คณะเบเนดิกติน อาสนวิหารแบบนี้เรียกว่าอาสนวิหารแบบอาราม (Monastic) อีกกลุ่มหนึ่งเป็นคณะเคลอจีที่ไม่ได้ถือคำปฏิญาณใด ๆ นอกจากการปฏิบัติตามกฎหมายศาสนจักรโดยทั่วไป ฉะนั้นเคลอจีประจำอาสนวิหารประเภทหลังจึงเรียกกันว่า “แคนัน” (Canon) อาสนวิหารแบบหลังนี้รู้จักกันว่าอาสนวิหารแบบเซคิวลาร์ (secular)

เมื่อปลายยุคกลางอาสนวิหารในประเทศเยอรมนีและอังกฤษมักจะเป็นแบบอาราม ในประเทศเดนมาร์กเริ่มแรกก็อาสนวิหารทั้งหมดก็เป็นแบบอารามสังกัดคณะเบเนดิกติน ยกเว้นอาสนวิหาร Børglum ซึ่งขึ้นอยู่กับคณะ Praemonstratensian ซึ่งเป็นคณะย่อยของคณะออกัสติเนียน หลังจากการปฏิรูปศาสนาอาสนวิหารเหล่านี้ก็เปลี่ยนเป็นอาสนวิหารแบบเซคิวลาร์ เช่นเดียวกับเดนมาร์ก ที่ประเทศสวีเดนอาสนวิหารอุบสลาแต่เดิมขึ้นอยู่กับคณะเบเนดิกติน มาเปลี่ยนเป็นเซคิวลาร์ ประมาณปี ค.ศ. 1250 จากนั้นประเทศสวีเดนก็มีคำสั่งให้อาสนวิหารทุกแห่งในประเทศนั้นเลิกขึ้นกับอารามและเปลี่ยนมาเป็นเซคิวลาร์ และให้ตั้งสภาเคลอจี (Chapter) ที่มีแคนันอย่างน้อยสิบห้าคนต่อ

ในยุคกลางที่ประเทศฝรั่งเศสอาสนวิหารมักจะเป็นแบบอาราม แต่ก็มาเปลี่ยนเป็นอาสนวิหารแบบเซคิวลาร์ กันเกือบหมดเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 อาสนวิหารสุดท้ายที่เปลี่ยนคืออาสนวิหารซีส์ (Seez) ซึ่งแต่เดิมขึ้นอยู่กับคณะออกัสติเนียน มาจนถึงปี ค.ศ. 1547 เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 3 ทรงอนุญาตให้เปลี่ยนอาสนวิหารที่เหลือก็มาเปลี่ยนเป็นแบบเซคิวลาร์กันหมดระหว่างการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์

ในกรณีของอาสนวิหารแบบอาราม การปกครองจะขึ้นกับคณะนักบวชที่อารามนั้นสังกัด และสมาชิกทุกคนของอารามจะต้องอาสัยอยู่แต่ภายในอารามเท่านั้น ส่วนการปกครองของอาสนวิหารแบบเซคิวลาร์จะมาจากสภาเคลอจี เช่น Dean, Precentor, Chancellor และ Tresurer

ประมุขของอาสนวิหาร

ยกเว้นเกาะอังกฤษประมุขของอาสนวิหารแบบเซคิวลาร์จะมีดำรงตำแหน่ง “Provost” (หรือ praepositus, Probst, อื่น ๆ) Provost นอกจะมีหน้าที่รักษากฎภายในโบสถ์แล้วก็ยังมีหน้าที่ดูแลเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ในสภาเคลอจีของอาสนวิหาร หน้าที่เกี่ยวกับศาสนพิธี และที่ดินที่เป็นของโบสถ์ หน้าที่หลังนี้ทำให้ Provost บางคนละเลยหน้าที่ ทำให้เกิดมีการตั้งตำแหน่งใหม่ขึ้นที่เรียกว่า Dean ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องหลังนี้ บางกรณีทางโบสถ์ก็จะยุบตำแหน่ง Provost แต่อาสนวิหารที่ยังมี Provost เป็นประมุข บางทีก็ดำรงตำแหน่ง Archdeacon ด้วยและเป็นหัวหน้าของสภาเคลอจี

ตำแหน่ง Provost นี้ใช้กันแพร่หลายในประเทศเยอรมัน แต่ไม่ใช้กันในประเทศอังกฤษบิชอป จีซา (Gisa) พยายามเอาตำแหน่งนี้มาใช้ที่อาสนวิหารเวลส์ในฐานะหัวหน้าของสภาเคลอจี แต่ต่อมาตำแหน่ง Provost นี้ก็ไปขึ้นกับเคลอจีอื่น ตำแหน่ง Provost ที่อาสนวิหารเบเวอร์ลี (Beverley Minster) เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของตำแหน่งนี้ แต่ Provost ที่เบเวอร์ลีเป็นเจ้าหน้าที่ภายนอกที่มีอำนาจปกครองโบสถ์แต่ไม่มีที่นั่งในบริเวณที่สวดมนต์ภายใน (choir) และไม่มีสิทธิออกเสืยง

ในประเทศเยอรมนีและสแกนดิเนเวียและบางโบสถ์ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส ตำแหน่ง Provost เป็นตำแหน่งสำหรับหัวหน้าของสภาเคลอจี ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส ฝรั่งเศสมีอาสนวิหาร 136 อาสนวิหาร แต่เพียง 38 แห่งที่อยู่ใกล้เยอรมนีหรือทางใต้ที่สุดเท่านั้นที่มีตำแหน่ง Provost เป็นหัวหน้ากลุ่มเจ้าหน้าที่ปกครองโบสถ์ ที่อาสนวิหารอื่นตำแหน่ง Provost เป็นตำแหน่งย่อยขึ้นอยู่กับตำแหน่งอื่น อาสนวิหารโอเทิง อาสนวิหารลียง อาสนวิหารชาทร์ ต่างก็มี Provost สองคนที่ขึ้นอยู่กับตำแหน่งอื่น

ใกล้เคียง

อาสนวิหาร อาสนวิหารกลอสเตอร์ อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส อาสนวิหารนักบุญเปาโล อาสนวิหารอัสสัมชัญ อาสนวิหารแร็งส์ อาสนวิหารลิงคอล์น อาสนวิหารโคโลญ อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล อาสนวิหารซอลส์บรี